วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet)

การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเดิมๆ (Dial Up)
        การใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป เราต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการใช้งาน เราจะต้องทำการต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยการ กด Dial ต่อจากนั้น ก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับโมเด็มด้วย ซึ่งโมเด็มความเร็วสูงสุดที่ใช้ก็เพียง 56 Kbps แต่ถ้าใช้งานเพียงเรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต(Downstream หรือ Download) ความเร็วดังกล่าว ก็นับว่าดีเพียงพอ แต่ถ้าจะดูภาพแบบ Video หรือ Movie Clip ก็ควรจะต้องมีความเร็วสูงขึ้น และในกรณีที่ต้องการใช้แบบ Upstreamหรือ Upload ก็ควรจะใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือBroad Band Internet)
       บรอดแบรนด์ คือเทคโนโลยีการับ-ส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น โดบใช้เทคนิคWide Band ซึ่งเมื่อมี Bandwidth มาก ก็จะสามารถส่งข้อมูลผ่านออกไปในปริมาณที่มากขึ้น
       ในอดีตนั้น การรับ-ส่งข้อมูล ใชะระบบ Base Band ที่มีช่องความถี่แคบๆเพียง 4 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจกัดในการรับ-ส่งข้อมูลของโมเด็มธรรมดาเพียง 56 kbps เท่านั้น  สำหรับ Broad Band ในปัจจุบัน ใช้ความถี่ได้กว้างมาก ในช่วง25.875 ถึง 1,099.6875 กิโลเฮิรตซ์
ระบบ ADSL (Asymmetric Digital Service Line)
       ADSL เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง การรับข้อมูล (Downstream) จะมีความเร็วได้สูงถึง 8 เมกะบิตต่อวินาที (8 Mbps) และการส่งข้อมูล (Upstream) มีความเร็วสูงสุดที่ 1 Mbps แต่การให้บริการในปัจจุบัน อาจจะมีความเร็วด้านการส่งข้อมูลได้สูงสุด 512 kbps

ADSL ดีอย่างไร1. มีความเร็วสูงกว่าระบบเดิมที่ใช้โมเด็มมาก ทำให้ดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่มีรูปภาพมากๆ หรือมีภาพVideo Clip ทำให้โหลดได้เร็วและภาพไม่กระตุก
2. สามารถติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์และสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Always On)
3. บริการ ADSL สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงกว่าด้านการส่งข้อมูล เพราะได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานส่วนใหญ่ที่ผู้ใช้มักจะเรียกดูข้อมูล ภาพ และเสียง ส่วนการส่งข้อมูล เช่น การส่งอีเมล์ การ Update ข้อมูล Edit ข้อมูลในเว็บไซต์นั้น จะมีความเร็วต่ำกว่า และอาจจะสูงสุดที่ 512 kbps แต่ก็นับว่ามากพอ

4. เมื่อติดตั้งระบบ ADSL แล้ว จะสามารถใช้งานโทรศัพท์หรือโทรสารได้ตามปกติ พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต บนคู่สาย หรือที่หมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน

5. ผู้ใช้งานระบบ ADSL จะต้องเสียค่าบริการรายเดือนแบบเหมาจ่าย เช่นในปัจจุบัน ที่ความเร็ว 4 Mbps ค่าบริการรายเดือนของTrue เดือนละ 590 บาท

ระบบ ADSL2+
       ADSL2+ เป็นระบบที่พัฒนาต่อมาจาก ADSL เมื่อปี ค.ศ. 2003ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับระบบเก่าได้ โดยระบบ ADSL2+ จะมีความเร็วสูงถึง 24 เมกะบิตต่อวินาที   หรือเร็วกว่า ADSL ถึง 3 เท่าในระยะทาง 1 กิโลเมตร สำหรับการใช้งานแบบ Downstreamหรือ Download และถ้าระยะทางเพิ่มมากขึ้น ความเร็วก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ จนใกล้กับระบบ ADSL   สำหรับการใช้งาน ADSL2+แบบ Upstream หรือUpload นั้น ความเร็วสูงสุดได้ 1 เมกะบิตต่อวินาที เท่ากับระบบ ADSL


ความเร็วของอินเทอร์เน็ตกับระยะทางจากชุมสาย

       เนื่องจากคลื่นความถี่สูงๆจะเดินทางได้ไม่ไกลมาก คือมีอัตราการลดทอนดังนั้นทำให้จำนวนช่องสัญญาณของระบบ ADSL ที่มีอยู่ถึง 255 ช่อง
ไม่สามารถใช้งานได้ทั้งหมดเมื่อมีระยะทางไกลขึ้น โดยเฉพาะช่องที่มีความถี่สูงๆ จึงทำให้ ADSL มีความเร็วทางด้านการใช้งานแบบDownstream / Download ลดลง เมื่อผู้ใช้อยู่ห่างจากชุมสายมากขึ้น
การทดสอบความเร็ว(Speed Test)
ท่านสามารถทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตได้โดยเข้าไปที่www.adslthailand.com แล้วคลิกที่ Speed Testจากนั้น ก็จะทราบ Bandwidth ตามตัวอย่าง ดังนี้

ที่มา http://www.somkiet.com/ComTech/ADSL.htm

 

ICT วางแนวทางพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

 ในประเทศไทย

          นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย” ว่า กระทรวงฯ ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกในเพื่อดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย (Thailand : Rural Broad and infrastructure Development)
           โดยการจัดทำนโยบายการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย ซึ่งได้มี   การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย ด้วยการออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ จนได้ออกมาเป็น (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย
          ดังนั้น เพื่อให้กระทรวงฯ มีแนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เป็นแนวทางในการทำนโยบายพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยได้ กระทรวงฯ จึงได้ร่วมกับธนาคารโลกจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย” ขึ้น และได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง มาให้ข้อเสนอแนะและความเห็นต่อ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยที่กระทรวงฯ ได้จัดทำขึ้น


  “การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและเสนอแนะต่อ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงฯ รวมทั้งเพื่อรายงานผลการศึกษาและความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย โดยกระทรวงฯ ได้เชิญผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ จากสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะกรรมการกำกับโครงการความช่วยเหลือจากธนาคารโลกในการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา สมาคมต่างๆ รวมทั้งสิ้น 60 คน เข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งกระทรวงฯ หวังว่าจะได้รับข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงฯ เพื่อนำมาใช้จัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ให้กระทรวงฯ ได้ใช้เป็นแนวทางในการทำนโยบายพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทยต่อไป” นางจีราวรรณ กล่าว

ที่มา : mict.co.th

 

วิธีการชมคลิป youtube ภาพความละเอียดสูง

 สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง



 

รวมรายชื่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

รายชื่อ Provider

รายชื่อ Converage Area

อัตราค่าบริการ ADSL สำหรับ customer

อัตราค่าบริการ ADSL สำหรับ bussiness