วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับsearch engine และ web opac

search engine





     Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือKeyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
     
    Search Engineมี3ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกัน เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบันโดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com, Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
     Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือBlog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) มีตัวอย่างดังนี้ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูลDirectory
1.ODP หรือ Dmoz ที่หลายๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
    Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษาHTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.

     มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ Search Engine คืออะไร” นี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่านComments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน.

ที่มา



What is a Search Engine


ที่มา
http://www.youtube.com/watch?v=M85m1nRO3SY




WEB OPAC




       WEB OPAC คือ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog - OPAC) เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรให้กับผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากแหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ ซึ่งใช้หลักการสืบค้นเช่นเดียวกับการ สืบค้นด้วยบัตรรายการ
         การค้นหา (Library Catolog) จาก WEB OPAC การค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ โดยใช้ Web OPAC มีเมนูการค้นหาแยกตามประเภทของทรัพยากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1. การสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ 
เป็นหน้าจอการค้นหา สิ่งพิมพ์ประเภท หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง งานวิจัย วิทยานิพนธ์ Project Report เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ ตลอดจนสื่อโสตทัศนศึกษาต่างๆ เช่น เทป ซีดีรอม สไลด์ ฯลฯ ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ 2. การสืบค้นบทความวารสารไทย เป็นหน้าจอการค้นหาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องหรือวารสารภาษาไทยฉบับพิมพ์ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ1.2 ค้นหาจากชื่อเรื่อง [Title] 1.3 ค้นหาจากชื่อวารสาร [Title Journal] 1.4 ค้นหาจากหัวเรื่อง [Subject] 1.5 ค้นหาจากคำสำคัญ [Keyword]
1.6
ค้นหาด้วยเลขหมู่ระบบ 
1.6 ค้นหาด้วยเลขหมู่ระบบ 1.6 ค้นหาด้วยเลขหมู่ระบบ LC [library of Congress] 1.7 ค้นหาด้วยเลขหมู่ระบบ NLM [Number Library of Medical]2.2 ค้นหาจากชื่อเรื่อง [Title]
2.3
ค้นหาจากชื่อวารสาร
2.3 ค้นหาจากชื่อวารสาร
2.3 ค้นหาจากชื่อวารสาร [Title Journal]
2.4
ค้นหาจากคำสำคัญ
2.4 ค้นหาจากคำสำคัญ
2.4 ค้นหาจากคำสำคัญ [Keyword]
2.5
ค้นหาจากหัวเรื่อง
2.5 ค้นหาจากหัวเรื่อง
2.5 ค้นหาจากหัวเรื่อง [Subject]






วิธีค้นหาทรัพยากรห้องสมุด โดยใช้ WEB OPAC แบ่งออกเป็น 2 เมนุค้นหาหลักๆ ได้แก่
1. การสืบค้นรายการหนังสือและสื่อต่างๆ มีทางเลือกในการค้นหา เช่น
1.1 ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง [Auther] 
2. การสืบค้นบทความวารสารไทย มีทางเลือกในการค้นหา เช่น
2.1 ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง [Auther] 
      เทคนิคการสืบค้นข้อมูล หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search)


ที่มา   
http://lib20.kku.ac.th/infoliteracy/opac_main1.html




ความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน WEB OPAC






ที่มา 
 http://www.youtube.com/watch?v=WDqjArG4-vg




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น